++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

กระท่อม ยาระงับปวดหรือยาเสพติด


ในช่วงนี้ชื่อของกระท่อมเป็นข่าวเกรียวกราว เมื่อรัฐบาลจะยกเลิกการจัดให้กระท่อมเป็นยาเสพติด หลายคนคงอยากรู้ว่า “กระท่อม” มีสรรพคุณอย่างไร ชีวอโรคยาจึงนำบทความนี้มาฝากค่ะ

กระท่อม (Kratom) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mitragyna speciosa Korth. อยู่ในวงศ์ Rubiaceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 10-15 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตัวเป็นคู่ตรงข้ามและมีหูใบ 1 คู่ (interpetiolarstipules) ใบมีรสขมเฝื่อน แผ่นใบสีเขียว เป็นรูปไข่รีแกมขอบขนาน ปลายแหลมมีขนาด กว้าง x ยาวประมาณ 5-10 x 8-14 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ฐานใบมน ก้านใบออกจากฐานใบ มีความยาวประมาณ 2-4 ซม. เส้นใบเรียงตัวแบบขนนก เส้นกลางใบและเส้นแขนงใบมีสีแดงเรื่อ มีขนอ่อนสั้นๆ บริเวณเส้นใบที่อยู่ด้านท้องใบ มีเส้นแขนงใบ 10-15 คู่ ดอกออกเป็นช่อตุ้มกลม(head) ขนาด 3-5 ซม. ใน 1 ช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กสีขาวอมเหลืองจํานวนมาก ดอกย่อยสมบูรณ์เพศ ผลเป็นรูปไข่ขนาดเล็กประมาณ 5-7 มม.

กระท่อมพบได้ในบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น ปทุมธานี แต่จะพบมากในป่าธรรมชาติบริเวณภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และตอนบนของประเทศมาเลเซีย กระท่อมเป็นพืชเสพติดให้โทษประเภท 5 ตาม
พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

ประโยชน์ทางยา
ใบกระท่อมมีรสขมเฝื่อนเมา ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง แก้บิด ท้องเสีย แก้ปวดเมื่อยร่างกาย ระงับประสาทช่วยให้ทำงานทนไม่หิวง่าย วิธีใช้ให้นำใบสด 3-4 ใบ มาลอกเอาก้านใบและเส้นใบออก เคี้ยวให้ละเอียด ดื่มน้ำอุ่นกลั้วกลืนลงไป หรือนํ าใบมาตากแดดให้แห้งบดเป็นผง รับประทานกับน้ำอุ่นครั้งละ 1 ช้อนกาแฟพูนๆ แก้ท้องเสีย บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้มสบายตัวได้นานประมาณ 4-5 ชั่วโมง การรับประทานใบกระท่อมช่วยให้ทำงานได้ทนเวลามีแสงแดดจัด แต่จะเกิดอาการหนาวสั่นเวลาอากาศครึ้มฟ้าครึ้มฝน (เสงี่ยม พงษ์บุญรอด, 2514)

รายงานวิจัยทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยา
จากการทดลองในหนูขาวและหนูตะเภาพบว่า mitragynine ซึ่งเป็นแอลคาลอยด์สำคัญที่แยกได้จากใบกระท่อม มีฤทธิ์ระงับปวดในลักษณะเดียวกับแอลคาลอยด์ที่ได้จากยางฝิ่น เช่น มอร์ฟีน (opiate-likeaction) โดยออกฤทธิ์ต่อ opioid receptors (agonistic effects) แต่มีความแรงน้อยกว่า มอร์ฟีนประมาณ 10 เท่า (Tohda et al., 1997; Watanabe et al., 1997; Thongpradichote et al., 1998;Yamamoto et al., 1999) และยังพบว่า mitragynine ในขนาด 5-30 มก./กก. (i.p.) แสดงฤทธิ์กดการทำงานของ 5-HT2A receptor ในหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวด้วย 5-methoxy-N,N-dimethyltryptamine (16 มก./กก., i.p.) (Matsumoto et al., 1997) แอลคาลอยด์ mitragynine ทํ าให้คนเกิดอาการเคลิบเคลิ้ม คล้ายฤทธิ์ของ cocaine (Grewal, 1932) และยังพบว่าในคนที่ได้รับ mitragynine acetate ขนาด 50 มก. จะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน (Jansen et al., 1988)

จากการสังเกตอาสาสมัคร 6 คน ที่รับประทาน mitragynine acetate ครั้งละ 50-100 มก. หรือผงใบกระท่อมขนาด 650-1300 มก. พบว่าช่วยให้ทeงานได้นานขึ้น ทนแดด ผิวหนังแดงเพราะเลือดไปเลี้ยงผิวหนังมากขึ้น (Marcan, 1934)กระท่อมจัดเป็นพืชเสพติดให้โทษ ถ้ารับประทานใบกระท่อมในปริมาณมากๆ จะทำให้มึนงง และคลื่นไส้อาเจียน (เมากระท่อม) ในบางรายรับประทานเพียง 3 ใบ ก็ทํ าให้เมาได้ และถ้าหากรับประทานติดต่อกันนานๆ จะทำให้ปากแห้งคอแห้ง ปัสสาวะบ่อย ท้องผูก อุจจาระแข็งเป็นก้อนเล็กๆ นอนไม่หลับ น้ำหนักลด ผิวหนังดำเกรียมโดยเฉพาะบริเวณโหนกแก้มทั้ง 2 ข้าง บางรายอาจมีสภาพจิตสับสน และถ้าหยุดรับประทานใบกระท่อมจะเกิดอาการถอนยา คือ นํ้ าตาไหล นํ้ ามูกไหล ก้าวร้าว ปวดเมื่อยตามตัว และกล้ามเนื้อแขนขากระตุก (Suwanlert, 1975)

นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าเมื่อฉีด mitragynine ขนาด 3-30 ไมโครกรัมเข้าโพรงสมองที่ 4 (the fourth cerebroventricle) ของหนู rat ที่ถูกวางยาสลบ จะสามารถยับยั้งการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหารได้เช่นเดียวกับมอร์ฟีน (Tsuchiya et al., 2002)ซึ่งอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้ที่รับประทานใบกระท่อมไม่รู้สึกหิว (ไม่อยากอาหาร) จึงทำงานได้นานขึ้น และส่งผลให้น้ำหนักตัวลดลง เกิดภาวะร่างกายผอมเกร็งได้จึงเห็นได้ว่าใบกระท่อมเป็นพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ระงับปวดได้พอสมควร แต่อาจทำให้เสพติดได้เนื่องจากมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาคล้ายคลึงกับมอร์ฟีน จึงควรศึกษาเพิ่มเติมในสัตว์ทดลองด้านพิษวิทยาอาการข้างเคียงและการเสพติด เพื่อให้ทราบถึงศักยภาพในการเป็นยาระงับปวดของใบกระท่อมรวมทั้งความปลอดภัยและความเป็นไปได้ในการนำใบกระท่อมมาใช้ประโยชน์ทางยาในอนาคต

เอกสารอ้างอิง
เสงี่ยม พงษ์บุญรอด, 2514. ไม้เทศ เมืองไทย. เกษมบรรณกิจ, กรุงเทพฯ, หน้า 22-24. Beckett, A.H., Shellard, E.J. and Tackie, A.N. 1965a. The Mitragyna species of Asia Part VI. The alkaloids of the leaves of Mitragyna speciosa Korth. Isolation of mitragynine and speciofoline. Planta Med., 13: 241-246.
Beckett, A.H., Shellard, E.J., Phillipson, J.D. and Lee, C.M. 1965b. Alkaloids from Mitragyna speciosa Korth. J. Pharm. Pharmacol., 17: 753-755.
Beckett, A.H., Shellard, E.J., Phillipson, J.D. and Lee, C.M. 1966a. The Mitragyna species of AsiaPart VI. Oxindole alkaloids from the leaves of Mitragyna speciosa Korth. Planta Med., 14: 266-276.
Beckett, A.H., Shellard, E.J., Phillipson, J.D. and Lee, C.M. 1966b. The Mitragyna species of Asia Part VII. Indole alkaloids from the leaves of Mitragyna speciosa Korth. Planta Med., 14: 277-288.
Grewal, K.S. 1932. Observation on the pharmacology of mitragynine. J. Pharmacol. Exp. Ther., 46: 251-271. (Through Chem. Abstr. 27:137, 1933). Houghton, P.J. and Said, I.M. 1986. 3-Dehydromitragynine: an alkaloid from Mitragyna speciosa. Phytochemistry, 25: 2910-2912.
Jansen, K.L.R. and Prast, C.J. 1988. Ethnopharmacology of Kratom and the Mitragyna alkaloids. J. Ethnopharmacology, 23: 115-119.
Keawpradub, N. 1990. Alkaloids from the fresh leaves of Mitragyna speciosa. Master’s Thesis, Graduate School, Chulalongkorn University, Bangkok. Marcan, A. 1934. Report of the Government Laboratory of Siam: Physiological action of Kratom. Analyst, 59: 753-754.
Matsumoto, K., Mizowaki, M., Takayama, H., Sakai, S., Aimi, N. and Watanabe, H. 1997. Suppressive effect of mitragynine on the 5-methoxy-N,N-dimethyltryptamine-induced head-twitch response in mice. Pharmacol. Biochem. Behav., 57: 319-323.
Shellard, E.J., Houghton, P.J. and Resha, M. 1978a. The Mitragyna species of Asia Part XXXI. The alkaloids of Mitragyna speciosa Korth. from Thailand. Planta Med., 34: 26-36.
Shellard, E.J., Houghton, P.J. and Resha, M. 1978b. The Mitragyna species of Asia Part XXXII. The distribution of alkaloids in young plants of Mitragyna speciosa Korth. grown from seed obtained from Thailand. Planta Med., 34: 253-263.
Suwanlert, S. 1975. A study of Kratom eaters in Thailand. Bulletin on Narcotics, 27: 21-27.
Thongpradichote, S., Matsumoto, K., Tohda, M., Takayama, H., Aimi, N., Sakai, S. and Watanabe, H. 1998. Identification of opioid receptor subtypes in antinociceptive actions of supraspinally-administered mitragynine in mice. Life Sci., 62: 1371-1378.
Tohda, M., Thongpradichote, S., Matsumoto, K., Murakami, Y., Sakai, S., Aimi, N.,Takayama, H., Tongroach, P. and Watanabe, H. 1997. Effects of mitragynine on cAMP formation mediated by delta-opiate receptors in NG108-15 cells. Biol. Pharm. Bull., 20: 338-340.
Tsuchiya, S., Miyashita, S., Yamamoto, M., Horie, S., Sakai, S., Aimi, N., Takayama, H. and Watanabe, K. 2002. Effect of mitragynine, derived from Thai folk medicine, on gastric acid secretion through opioid receptor in anesthetized rats. European J. Pharmacol., 443: 185-188.
Watanabe, K., Yano, S., Horie, S. and Yamamoto, L.T. 1997. Inhibitory effect of mitragynine,an alkaloid with analgesic effect from Thai medicinal plant Mitragyna speciosa, on electrically stimulated contraction of isolated guinea-pig ileum through the opioid receptor. Life Sci., 60: 933-942.
Yamamoto, L.T., Horie, S., Takayama, H., Aimi, N., Sakai, S., Yano, S., Shan, J., Pang, P.K., Ponglux, D. and Watanabe, K. 1999. Opioid receptor agonistic characteristics of mitagynine pseudoindoxyl in comparison with mitragynine derived from Thai medicinal plant Mitragyna speciosa. Gen. Pharmacol., 33: 73-81.

************************ **********************************
เครดิต: เรื่อง ชีวอโรคยา นำมาจาก เรื่องของ ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศูนย์สมุนไพรทักษิณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต

แบ่งปันความรู้ทั่วไป เพื่อความพอเพียง และสุขภาพที่ดี โปรดใช้วิจารณญาณ และศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

ชีวอโรคยา อยากให้ทุกคนมีสุขภาพดีไม่พึ่งสารเคมี ไม่ต้องรอให้ป่วยไปเสียค่ารักษาพยาบาลแพงๆ

ติดตามข้อมูลข่าวสารการดูแลตัวเองวิถีธรรมชาติ ไม่พึ่งสารเคมีได้ที่ Facebook ชีวอโรคยา
www.facebook.com/pages/ชีวอโรคยา/135957369811772

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น