++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ทำเงินบนโลกไอที : โด่งดังด้วย Twitter !

ทำเงินบนโลกไอที : โด่งดังด้วย Twitter !

บท ความนี้จะทำให้คุณรู้ว่า คนธรรมดา ดาราศิลปิน นักข่าว
โปรแกรมเมอร์ คุณหมอ คุณครู ตำรวจ ทหาร ข้าราชการ นักการเมือง
รวมถึงนายกรัฐมนตรี ไล่ไปจนถึงบริษัท-องค์กรน้อยใหญ่
สามารถสร้างชื่อของตัวเองให้โด่งดังด้วย Twitter ได้อย่างไร

"สุกรี พัฒนภิรมย์" เจ้าพ่อ Twitter
รวบรวมสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำบน Twitter มาตีแผ่อย่างตรงไปตรงมา
บอกวิธีการเริ่มต้นในการสร้างแบรนด์"คน"และแบรนด์"ที่ไม่ใช่คน"
รวมถึงความเข้าใจผิดที่อาจจะทำให้หลงทาง แถมยังแอบเหน็บเจ้าของ Twitter
ยอดแย่ที่ไม่ควรลอกเลียนแบบได้อย่างเห็นภาพ

***การสร้างแบรนด์ด้วย Twitter
โดย สุกรี พัฒนภิรมย์ http://sugree.com/

นาทีนี้หลายคนคงเริ่มได้ยินคำว่า Twitter
มากขึ้นและถี่ขึ้นเรื่อยๆ ทุกครั้งที่มีเหตุการณ์สำคัญแบบปัจจุบันทันด่วน

สรุป สั้นๆ อีกครั้ง Twitter
คือช่องทางการสื่อสารแบบหนึ่งที่ให้ตอบคำถามที่ว่า "คุณกำลังทำอะไร"
ซึ่งเรียบง่ายไม่มีอะไรน่าสนใจ แต่มันมีเสน่ห์ ถ้านึกไม่ออกว่ามันคืออะไร
ลองนึกถึง status message ของ IM ที่เรียงต่อกันตามเวลา

ทำไม Twitter ทำไมไม่ MSN

ถ้ามองด้วยสายตาที่เป็นธรรม MSN ดีกว่า Twitter เกือบทุกอย่าง
ไม่มีอะไรที่ Twitter ทำได้แล้ว MSN ทำไม่ได้ เพราะ Twitter
เปรียบได้กับแค่ status message ของ MSN เท่านั้น แต่สิ่งที่ Twitter
ให้มากกว่านั้นคือสิ่งที่ขาดหายไป ใน MSN เรามีสถานะ Online/Offline
แต่ใน Twitter ไม่มี นั่นหมายถึงเราไม่เคยต้องรอ
เราไม่ต้องสนว่าพูดกับใคร เราแค่ตะโกนออกไป
ใครไม่อยากฟังก็ไม่ต้องสนใจเรา ใครสนใจเราก็จะฟังเราใกล้ๆ
ถ้าเราตะโกนคำถาม สิ่งที่ได้กลับมาอาจเป็นคำตอบของใครก็ได้
หรืออาจจะไม่มีอะไรกลับมา

พักหลังคำว่า Twitter เริ่มเป็นที่รู้จักในประเทศไทยมากขึ้น
คาดว่าได้อิทธิพลจาก @Oprah และสดๆ ร้อนๆ #iranelection
ซึ่งทำให้ปรากฏในสื่อหลายๆ สื่อ ไม่แต่เฉพาะในเว็บเท่านั้น
ล่าสุดเท่าที่เห็นก็มีทั้งหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ และวิทยุ
หรือแม้แต่หน้าปก Time
แต่ถึงกระนั้นคนส่วนใหญ่ก็ยังไม่รู้ว่ามันคืออะไรกันแน่

สรุปว่า Twitter คืออะไร

การอธิบายความหมายของ Twitter ให้เข้าใจในเวลาสั้นๆ
เป็นเรื่องยากลำบากมาก ถ้าสนใจควรทดลองด้วยตนเอง การทดลองใช้งาน Twitter
ไม่ต่างอะไรกับการลองกินเหล้าหรือสูบบุหรี่ บางคนอาจจะเฉยๆ บางคนเกลียด
แต่บางคนจะติด ติดจนถอนตัวไม่ขึ้น ต้องใช้เวลาเป็นเดือนเพื่อลด ละ เลิก
ให้อยู่ในระดับที่ใช้ชีวิตได้ตามปกติ

คำจำกัดความสั้นๆ ที่เข้าใจไม่ง่าย คือ "Twitter คือ บล็อกความยาว
140 ตัวอักษร พร้อมระบบสมัครสมาชิกอ่านฟีด (Feed) และรวมฟีด"

เสน่ห์ของ Twitter ไม่ได้อยู่ที่ความสามารถ
แต่อยู่ที่ความเรียบง่าย สิ่งที่ Twitter รับจากเราก็แค่ข้อความไม่เกิน
140 ตัวอักษร และสิ่งที่เราได้รับคือข้อความล่าสุดของคนที่เราสนใจ
ที่เหลือขื้นกับจินตนาการล้วนๆ

ประโยชน์ของความสั้นและความสด

เพื่อให้เข้าใจ Twitter มากขึ้น
ต้องเข้าใจระบบสื่อสารที่เราใช้อยู่ทุกวันซะก่อน
ของแท้แน่นอนต้องยกให้อีเมล ส่งแล้วรอเป็นเรื่องปกติ
อาจจะต้องใช้โทรศัพท์เตือนเพื่ออ่าน ถัดมาคือ IM ทั้งหลาย เช่น MSN Gtalk
YIM มีข้อดีที่เห็นว่าออนไลน์หรือออฟไลน์
ส่วนใหญ่จะให้ส่งข้อความได้แม้ตอนออฟไลน์
ส่วนจะได้อ่านเมื่อไหร่ก็อีกเรื่อง
ถ้าต้องการส่งข้อความให้หลายคนพร้อมกันต้องรอให้ออนไลน์พร้อมกันเท่านั้น
ส่วนใหญ่ถ้าคุยกันเป็นหมู่คณะจะใช้ IRC ซึ่งแบ่งเป็นห้องๆ
แต่ละห้องก็จะมีเจ้าของห้อง ประสิทธิภาพดี แต่ใช้งานยากหน่อย

อีกทางเลือกคือเว็บบอร์ด ซึ่งก็มีเจ้าของห้องเช่นกัน

และแล้วโลกใหม่ก็มาถีง
บล็อกเป็นทางออกของคนชอบแสดงออกโดยไม่ต้องกลัวใคร
ทุกคนรับผิดชอบบล็อกของตัวเอง บล็อกอย่างเดียวอยู่ไม่ได้ต้องใช้คู่กับฟีด
เมื่อรวมบล็อกกับฟีดเข้าด้วยกันอย่างสมบูรณ์แล้ว
เราจะได้ระบบรับส่งความคิดหนึ่งระบบ เนื้อหาของบล็อกมีหลายรูปแบบ
แต่สิ่งที่มีค่าที่สุดของบล็อกคือประสบการณ์ ประสบการณ์ของแต่ละคนต่างกัน
ความคิดเห็นย่อมต่างกัน เนื้อหาในบล็อกจะแสดงตัวตนของผู้เขียน
อย่างไรก็ตามการเขียนบล็อกต้องการทั้งแรงกาย แรงใจ
และเวลามากกว่าทุกอย่างที่เคยมีมา

บล็อก มักถูกเขียนหลังเหตุการณ์เกิด มีเพียงส่วนน้อยที่ทำ Live
Blog ในเหตุการณ์ที่คิดว่ามีผู้อ่านติดตามจำนวนมาก Twitter
เข้ามาเติมเต็มช่องว่างตรงนี้ได้อย่างลงตัว การบล็อกที่ความยาว 140
ตัวอักษรทันทีที่พบ เห็น ณ เวลานั้นทันที
หลายต่อหลายครั้งที่ข้อมูลลดความสำคัญลงเมื่อเวลาผ่านไป เช่น
"ปิดถนนพระราม 4" ถ้ากลับบ้านแล้วค่อยเขียนบล็อก มันจะมีประโยชน์อะไร

ส่วนหนึ่งของชีวิต

ข้อความ "ปิดถนนพระราม 4" แสดงให้เรารู้หลายอย่าง
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เราส่งข้อความกลางถนนได้ Twitter
จะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของผู้ที่ต้องการ Twitter
มีทุกอย่างสำหรับนักพัฒนา
นักพัฒนาจำนวนมากสร้างเครื่องมือเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้สามารถรับส่งข้อ
ความได้สารพัดวิธี ถ้าต้องการเข้าถึง Twitter
อย่างแท้จริงให้ติดตั้งโปรแกรม เช่น Twhirl, TweetDeck, Tweetie, Nambu,
Twitterific, TwitterBerry, PocketTweets หรือ #jibjib แล้วติดตาม
(follow) @sugree ที่เหลือแล้วแต่ชะตากรรมมี

คนจำนวนไม่น้อยที่ใช้ Twitter แล้วเลิกอย่างรวดเร็ว
สาเหตุส่วนใหญ่คือ ส่งอย่างเดียว ไม่ค่อยอ่าน อ่านไม่ทันเลยไม่อ่าน
ไม่มีใครตอบ ไม่ได้ลงโปรแกรมที่เข้ากับชีวิตประจำวัน
ผู้ที่เลิกเล่นให้ดีใจที่ไม่ติด เพราะถ้าติดแล้วมันเลิกยาก
และสิ่งแรกที่จะทำก็คือเลิกติดตาม (unfollow) @sugree

ความพิเศษในความเรียบง่าย

ก่อนจะไปไกลกว่านี้ ต้องแนะนำคำศัพท์กันก่อน

* Twitter ใช้เป็นคำนาม
* Tweet ใช้เป็นกิริยา หรือนามก็ได้ ถ้าเป็นคำนามจะหมายถึงข้อความ
* Tweeple คำนามพหูพจน์ หมายถึง ผู้ใช้ Twitter มาจาก Twitter+People
* Twitterverse คำนามเช่นกัน หมายถึง จักรวาลของ Twitter และ Tweeple
* Retweet หรือ rt หมายถึงการส่งต่อข้อความของคนอื่น คล้ายๆ
กับฟอร์เวิร์ดเมล
* Direct Message หรือ dm
หมายถึงการส่งข้อความส่วนตัวเป็นรายบุคคล ผู้ใช้บางประเทศจะได้รับ SMS
ด้วย

ถ้าสังเกตข้างบนจะใช้คำว่า @sugree แทนชื่อ สัญลักษณ์ @
มีไว้เพื่อนำหน้าชื่อของผู้ที่เราต้องการอ้างถึง
เป็นการให้ความสำคัญกับชื่อ นั้น
และเจ้าของชื่อนั้นจะเห็นข้อความนั้นด้วย อีกสัญลักษณ์ที่ใช้บ่อยคือ #
เช่น #iranelection เรียกว่า Hashtag
มีไว้เพื่อสร้างคำใหม่เพื่อใช้อ้างอิงโดยการแทรกไว้ในข้อความที่เกี่ยวข้อง
เราสามารถเรียกดูข้อความทุกข้อความที่มีคำว่า #iranelection ได้

ถ้าใครยังนึกไม่ออกว่าข้อความ 140 ตัวอักษรจะทำอะไรได้มากมาย
ให้ลองนึกว่า URL ก็เป็นตัวอักษร เราสามารถส่ง URL
เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของข้อความได้ ณ ปัจจุบัน URL นี้เป็นได้ทั้ง บทความ
ภาพ เสียง วีดิโอ โพล การ์ด และอื่นๆ อีกมากมาย

แบรนด์

ใน Twitter มีทุกอย่างให้เลือกสรร
มีทั้งแบรนด์คนและแบรนด์ที่ไม่ใช่คน ยกตัวอย่างแบรนด์คนง่ายๆ @aplusk
@QueenRania @Oprah @BarackObama @kevinrose @Guykawasaki
และที่ลืมไม่ได้ @KornDemocrat @apirak_news ส่วน @abhisit
คิดว่าเป็นตัวแทน แต่ @mark_abhisit อาจจะเป็นตัวจริงที่ทำผิดกฎไปหน่อย
แต่ @PM_Abhisit นี่ก็น่าสับสนเหมือนกัน ล่าสุดคือ @SatitTrang

แบรนด์ไม่ใช่คนส่วนใหญ่จะเป็นแบรนด์องค์กรบริษัท เช่น @DellOutlet
@cnnbrk @PostToday @ch7 @Kom_chad_luek @prachatai @blognone @mcot
@mgrnews แบรนด์ส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่คนมักเป็นข่าว เป็นการสื่อสารทางเดียว
99% ยกเว้น @DellOutlet ที่มี @StefanieAtDell
อยู่เบื้องหลังทำหน้าที่เสนอโปรโมชั่นและตอบคำถามเพื่อนำไปสู่การซื้อขาย

ความเข้าใจผิด

ถ้าจะวัดระดับคุณค่าของแบรนด์ใน Twitter
คงไม่ยากที่จะใช้จำนวนผู้ติดตามแบรนด์นั้น
แบรนด์และคนส่วนใหญ่ใช้ทางลัดโดยตั้งสมมติฐานว่า "เรามัก follow
ใครก็ตามที่ follow เรา" ซึ่งมันก็ถูก แต่ไม่ยั่งยืน
ตัวเลขจำนวนผู้ติดตามจะไร้ค่าถ้าใช้วิธี follow ทุกคนที่นึกออก
ตัวเลขนี้จะมีค่าก็ต่อเมื่อเค้าค้นพบแบรนด์ของเราด้วยตนเองและคิดว่าควร
follow

วิถีสร้างแบรนด์

ตัวอย่าง ง่ายๆ สำหรับการสร้างแบรนด์คือ @DellOutlet และ
@blognone ทั้งคู่เริ่มจากไม่มีอะไร ทั้งคู่ follow
เฉพาะเครือข่ายของตนเอง ทั้งคู่มีมนุษย์อยู่เบื้องหลัง (@StefanieAtDell
และ @markpeak กับ @lewcpe) ทั้งคู่มีคนติดตามโดยไม่ต้องตามใครก่อน

Twitter มีเครื่องมือช่วยสร้างแบรนด์ด้วยตนเอง
ก่อนอื่นต้องพยายามเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้ สำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว Twitter
มีไว้เพื่อบ่น เพราะมันบ่นง่าย
และสิ่งที่เจ้าของแบรนด์ต้องการมากที่สุดก็คือ คำบ่น คำวิจารณ์
และจะเป็นอย่างไรถ้าแบรนด์ที่โดนบ่นตอบสนองต่อคำบ่นนั้นภายในเวลา 5 นาที
แน่นอน ต่อให้แย่ขนาดไหน ต่อให้ใจแข็งแค่ไหน เจอแบบนี้ต้องประทับใจแน่นอน

ถ้าพร้อมแล้วลุยเลย http://search.twitter.com/
คือเครื่องมือที่ว่า การค้นหาแบบง่ายที่สุดคือ ชื่อแบรนด์
หรือชื่อผลิตภัณฑ์ เช่น "cyberbiz" หรือ "mgrnews"
ถ้าอยากได้ฟีดแบ็คที่ถูกส่งกลับมาชัดๆ ใช้คำว่า "@mgrnews" จะตรงกว่า
อีกแบบที่นิยมใช้มากคือ hashtag เช่น หาคำว่า "#barcampbkk3"
ซึ่งจะได้ความเห็นเกี่ยวกับงานบาร์แคมป์ทันที
นอกจากนี้ยังค้นหาจากอารมณ์ได้ Twitter
จะดูจากสัญลักษณ์แสดงอารมณ์ที่มีในข้อความ เช่น "iphone :("
จะได้ข้อความด้านลบเกี่ยวกับ iPhone หรือ "android ?"
เพื่อหาคำถามเกี่ยวกับ Android

เครื่องมือถัดมาที่ทรงพลังไม่แพ้กันคือ http://twtpoll.com/ ซึ่ง
เหมาะมากสำหรับการระดมความเห็นแบบรวดเร็ว การโหวตไม่ต้องการอะไรมากไปกว่า
Twitter การแพร่กระจายก็ใช้ Twitter กลไกหลักก็ไม่พ้น retweet

ข้อควรจำ

สิ่งสำคัญที่สุดของการมีตัวตนและทุกคนยอมรับคือ จงเป็นมนุษย์ อย่า
ทำตัวเป็นหุ่นยนต์ ดูตัวอย่างได้จาก @abhisit ไร้ซึ่งอารมณ์
ส่วนตัวอย่างที่ดีก็ต้อง @KornDemocrat และ @apirak_news
เรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ต้องมีรูปประจำตัว
ควรใช้รูปที่แสดงความเป็นตัวตน ส่วนที่เป็นแบรนด์ก็ต้องใช้โลโก้ของแบรนด์
และต้องแสดงความเป็นตัวจริงด้วย

เทคนิคง่ายๆ เช่น ใส่ URL ของเว็บไซต์ในโปรไฟล์
และในเว็บนั้นมีลิงก์กลับมาที่ Twitter หรือรอใช้บริการ Verified Account

ตัวอย่างที่แย่ที่สุดคือ @abhisit @mark_abhisit และ @PM_Abhisit
จนบัดนี้ยังไม่รู้ว่าใครตัวจริง หรืออาจจะปลอมหมดก็ได้

ไม่ควรใช้ชื่อแบรนด์เป็นหลัก เพราะจะเริ่มงงเมื่อมีหลายแบรนด์
วิธีที่ง่ายกว่าคือใช้ชื่อตัวเองและแบรนด์แยกกัน
ถ้ามีแบรนด์เพิ่มจะไม่มีผลกระทบอะไร
และสามารถใช้คนเดิมเป็นช่องทางผลักดันแบรนด์ใหม่ด้วย

ย้ำอีกครั้ง ไม่ควร follow ที่เดียวเป็นจำนวนมากแบบเหวี่ยงแห
แบรนด์ไม่จำเป็นต้องตามใคร

ส่วนเจ้าของแบรนด์ที่เป็นคนควรเริ่ม follow คนดัง กลไก retweet
จะช่วยกระจายข่าวเกี่ยวกับการมีตัวตนของแบรนด์ได้ดีกว่า
และไม่ดูเป็นการบุกรุกมากเกินไป

แบรนด์บางอย่างไม่จำเป็นต้องมี Twitter ด้วยซ้ำ แค่ hashtag
ก็เกินพอ เช่น #MB หรือ #MyBrute, #RC หรือ #RestaurantCity และล่าสุด
#HappyFarm

ตัวอย่างที่ไม่ควรทำคือ #SpyMaster การส่ง DM
เพื่อเชิญชวนโดยไม่แจ้งล่วงหน้าเป็นสิ่งที่อุกอาจมาก แม้ว่าจะได้ผลดี
แต่บางคนก็มองเป็นสแปมทันที

จุดเริ่มต้น

ตามที่แนะนำไว้ข้างบน ทุกคนเริ่มจากศูนย์
ขั้นแรกกรอกประวัติให้ถูกต้องน่าสนใจ อย่าลืมรูปเด่นๆ หาไคลเอนต์คู่ใจ
เมื่อพร้อมแล้วก็ follow คนดังและข่าว

พึงระลึกว่าคนธรรมดาก็เด่นได้ รูปเด่นๆ ขึ้นกับความคิดสร้างสรรค์
แต่อย่าไปเทียบกับดารา นักแสดง พิธีกร เค้าแต่งหน้าแล้วหล่อๆ สวยๆ
จนเป็นเรื่องปกติ

ในขั้นแรกไม่จำเป็นต้องมากมาย คิดซะว่าแก้เหงา อย่างน้อยน่าจะราวๆ
20 คนขึ้นไป ข่าวส่วนใหญ่มีบอกไว้ด้านบน
อยู่ไปซักพักจะพบแหล่งข่าวน่าสนใจเพิ่มขึ้นภายหลัง เช่น @hunsadotcom
@kapookdotcom เป็นต้น ถ้าชอบดารานักแสดงต้องไม่พลาด @montonnjira
@Pim181 @usamanee

ส่วนพิธีกรผู้ประกาศข่าวก็มีทัพหน้าที่ต้องไม่พลาด @nuishow
@ripmilla @shark_beartai @ceemeagain @yoware @sresuda ถ้าสนใจการตลาด
เว็บทั้งหลายอย่าลืม @macroart @mormmam @Angkut @worawisut @pawoot
ลองดูลีลาการโฆษณาแบบบ่นๆ ของ @pawoot เป็นตัวอย่าง

หรือเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญด้านการซื้อขายออนไลน์ของ @macroart

หนึ่งในตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จอย่างงดงามคือ Playground โดย
@Nattachai ไม่ต้องทำอะไรมาก แค่ใช้เอง รับฟังคำแนะนำ
และบอกความสามารถใหม่แบบบ่นๆ

ความแตกต่าง

ถ้า สังเกตตัวอย่างที่ยกมาด้านบนดีๆ
จะพบว่าแต่ละคนมีรูปแบบและพฤติกรรมของตนเอง ไม่ซ้ำใคร
เนื้อหาก็มีโฆษณาบ้าง ประสบการณ์บ้าง ความเห็นบ้าง ดูๆ ไปคล้ายกับ
mailing list หรือเว็บบอร์ด สิ่งที่ Twitter แตกต่างก็คือ
ทุกคนมีสิทธิ์เลือกที่จะเห็นและอ่านข้อความจากเพื่อนที่ follow ไว้แล้ว
ถ้าคนที่ follow เราคิดว่าเรากำลังโฆษณาเกินกว่าเหตุจนรับไม่ได้ เค้าจะ
unfollow เราเอง ส่วนคนที่ยังตามอยู่แปลว่าเค้ารับพฤติกรรมของเราได้
ส่วนใหญ่แล้วคนที่รับไม่ได้จะบ่นก่อน
ถ้าเราไม่เปลี่ยนพฤติกรรมเค้าจะเลิกสนใจเราเอง นั่นคือ
เราต้องเรียนรู้ศาสตร์ การโฆษณาโดยไม่โฆษณา
ใช้ความอยากรู้อยากเห็นให้เป็นประโยชน์ ลองดู @markpeak เป็นตัวอย่าง

ไม่มีอะไรน่าสนใจใดๆ ทั้งสิ้น ผมก็ rt หนึ่งครั้ง แล้ว @anoochit
ก็สานต่อจนผลิดอกออกผล (อ่านล่างขึ้นบน)

จงอดทน

กรุงโรมไม่ได้สร้างใน 3 วัน แบรนด์ก็ไม่ได้สร้างได้ทันทีเช่นกัน
อย่าใจร้อน จงทำตัวให้สมกับเป็นมนุษย์ให้มากที่สุด

ที่ สำคัญคือ อย่าใช้เครื่องมือด้านมืดเด็ดขาด
จำไว้ว่าไม่ต้องมีคน follow เยอะ ไม่ต้องเน้นปริมาณ คุณภาพสำคัญกว่า
retweet ช่วยได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว.

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9520000073289

แจ่มๆ

สำหรับคนที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ
ต้องลองใช้งานดู จะกลายเป็น
"สิ่งเสพติด" ที่ต้องคอยอัพตลอดเวลา

ข้อดี มีเยอะ ข้อเสีย คือ เสียเวลาทำงาน
เพราะมัวมานั่งไล่อ่านทวีตคนอื่น
@happysukhita

--
Twitter มีไว้ระบาย (อย่างเดียว 55+)
@gomm

--มันเป็นเรื่องของเทคโนโลยี 20% ที่เหลืออีก 80% เป็นเรื่องของ User
Experience ล้วนๆครับ
ว่าคุณจะประทับใจ Twitter ตอนไหน เป็นโลกที่ต้องค้นหาเอาเอง บอกกันไม่ค่อยจะได้
Ripmilla

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น