++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

How to save ASTV?

How to save ASTV?
โดย อุษณีย์ เอกอุษณีษ์


ก่อนอื่นต้องขออภัยผู้อ่าน "ASTVผู้จัดการ"
หลังผู้เขียนต้องห่างหายไปจากหน้ากระดาษถึงสองศุกร์ติดต่อกัน
ซึ่งผู้เขียนขอถือโอกาสโยนความผิดให้กับสุขภาพที่ไม่เอื้ออำนวยเพราะปกติ
แล้ว ผู้เขียนถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ผู้มีสุขภาพแข็งแรงไม่เคยขาดงานสักเท่าไร
มาประจวบเหมาะกับการที่เอเอสทีวีเข้าสู่โหมดการเปลี่ยนแปลงผังรายการแบบฉับ
พลันทันด่วนก็ทำเอาตารางรวนไปพอสมควร แต่ต่อไปนี้คงจะลงตัวหมดแล้ว

จบจากคำแก้ตัวขอเข้าเรื่องที่ต้องการหยิบมาพูดคุยกันสัปดาห์นี้
เริ่มจากเรื่องใกล้ตัวที่สุด คือเรื่องสถานะของสถานีโทรทัศน์ "ASTV"
ซึ่งถือว่าเข้าสู่รอบล่าสุด ที่สถานีฯ ต้องเผชิญมรสุมฝืดเคืองด้านการเงิน
ทั้งขาดงบประมาณในการจะนำมาเป็นค่าจ่ายให้โทรทัศน์ช่องนี้ออกอากาศต่อไปได้
และขาดงบสำหรับจ่ายเงินเดือนบุคลากร
ซึ่งประเด็นหลังแม้จะสร้างความเดือดร้อนให้ฝ่ายข่าวของเอเอสทีวีพอสมควร
แต่การตัดสินใจยืนหยัดจะกินข้าวหม้อเดียวกัน ตลอดหลายปีที่ผ่านมา
ก็เป็นเครื่องพิสูจน์จิตใจของพวกเราแล้วว่า
"อดมื้อกินมื้อแต่ก็อิ่มใจที่ได้ทำงานให้กับพี่น้องประชาชนที่เป็นเจ้าของทีวีช่องนี้"

มองในแง่ดีถือเป็นข้อพิสูจน์ว่าสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวีไม่ใช่สถานี
เฉพาะกิจที่มีไว้เชลียร์การเมืองหรือพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง
โดยเฉพาะเมื่อผ่านการพิสูจน์มาแล้วว่า
ไม่ว่าพรรคการเมืองอย่างพรรคเพื่อไทยหรือประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล
สถานการณ์การเงินของเราก็ยังลำบากเท่าๆ เดิม (55+)
แต่ถ้าจะมองอีกด้านที่จะพอให้เกิดคุณูปการได้อยู่บ้าง ก็คือ
ทำอย่างไรเราจะรักษาทีวีช่องนี้ไว้ให้ไปได้ตลอดรอดฝั่ง เหมือนๆ
กับที่คนอังกฤษเขาคอยตั้งคำถามว่า How to save BBC?
แต่ของเขาจะเป็นการรักษาในเชิงคุณภาพและอิสระในการนำเสนอ
ขณะที่เอเอสทีวีต้องการความช่วยเหลือที่จะครอบคลุมไปถึงการที่จะทำให้ทีวีจอ
ไม่มืดด้วย และขับเคลื่อนต่อไปได้

ในบ้านเราสถานีโทรทัศน์ส่วนใหญ่เป็นประเภทที่รัฐยอมให้เอกชนเข้ามา
แสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุโทรทัศน์โดยกฎหมายกำหนดให้ต้องจ่ายค่าตอบ
แทนแก่รัฐ เพื่อการจัดทำบริการสาธารณะด้านการสื่อสารวิทยุโทรทัศน์
แต่ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา
สถานีเหล่านี้ก็ยังคงถูกจำกัดการครอบครองอยู่ในมือกลุ่มทุนไม่กี่กลุ่มที่
เข้ามาแสวงหากำไรบนทรัพยากรของคนทั้งประเทศ ด้วยการขายโฆษณาแพงๆ
แต่จ่ายค่าสัมปทานต่ำๆ

โดยรายงานอ้างข้อมูลจาก บริษัท นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช
(ประเทศไทย) ได้ระบุถึง
ตัวเลขรายได้จากการขายโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ในช่วงปี 2543-2546
โดยแบ่งตามสถานีโทรทัศน์แต่ละแห่ง ปรากฏว่าทั้งช่อง 7 และช่อง 3
ต่างสลับกันครองส่วนแบ่งการตลาดสูงสุด อาทิ ปี 2543
รายได้ค่าโฆษณาของช่อง 3 เท่ากับ 9,192 ล้านบาท และปี 2546 เพิ่มเป็น
10,859 ล้านบาท

ขณะที่ช่อง 7 ในปี 2543 อยู่ที่ 7,858 ล้านบาท และปี 2546
เพิ่มเป็น 12,030 ล้านบาท
ขณะที่สถานีโทรทัศน์เหล่านี้มีภาระการจ่ายค่าสัมปทานรัฐที่ต่ำผิดปกติ
ตามสัดส่วนดังนี้ ช่อง 3 สัมปทาน 30 ปี (2533-2563) 3,207 ล้านบาท, ช่อง
7 สัมปทาน 25 ปี (2541-2566) 4,670 ล้านบาท (ประชาชาติธุรกิจ, 4 มีค.47)
ส่วนช่องที่เหลืออย่างช่อง 9 อสมท. และช่อง 11 ก็ต้องไม่ลืมว่า
รัฐในฐานะผู้มีอำนาจเหนือกว่า ทั้งในรูปของการเข้าไปถือหุ้นใหญ่บ้าง
(อสมท.) หรือกำกับดูแลผ่านบางหน่วยงานบ้าง (สสท.11)
ทำให้สื่อเหล่านี้ยังคงถูกขับเคลื่อนให้สอดคล้องกับนโยบายของผู้มีอำนาจที่
ส่งตัวแทนเข้ามา ควบคุมทิศทางการนำเสนอข่าวสาร

และแม้ว่าวันนี้ เมืองไทยจะมีทีวีสาธารณะแล้ว
ก็ต้องยอมรับความจริงอีกประการว่า องค์กรอย่างทีวีไทยทีวีสาธารณะ
ยังต้องใช้เวลาอีกยาวนานกว่าจะสามารถพิสูจน์ตนถึงการประกาศตัวเป็นทีวี
สาธารณะของประชาชน ดังปณิธานที่ตั้งไว้

ถ้างั้นแล้ว
สถานีโทรทัศน์ช่องไหนที่มีที่เหลือพอจะให้เป็นของพี่น้องประชาชนบ้าง
การที่ลุกขึ้นมาเขียนบทความวันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะลุกขึ้นมายกตัวเองว่า
เอเอสทีวีเป็นช่องโทรทัศน์ที่ดีที่สุด
และประเสริฐสุดในบรรดาช่องทีวีในยุคปัจจุบัน
แต่จากประสบการณ์ทำงานที่ได้รับจากที่นี่
ทำให้ผู้เขียนกล้าที่จะลุกขึ้นมาการันตี ความจริงประการหนึ่ง คือ
สถานีเอเอสทีวีดำเนินงานบนพื้นฐานความจริงใจ ที่จะผลักตัวเองให้กลายเป็น
ทีวีของประชาชน อย่างแท้จริง ด้วยการเปิดทางให้ประชาชนรายเล็ก
บริษัทห้างร้านรายย่อยเข้ามามีส่วนช่วยขับเคลื่อนเอเอสทีวี
แทนที่จะเหมาโหลขายให้กับกลุ่มธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง
แล้วปล่อยให้ธุรกิจนั้นเข้ามามีอิทธิพลครอบงำการทำงานของชาวเอเอสทีวีอย่าง
ที่อื่นๆ

บนแนวคิดจะผดุงไว้ซึ่งอิสระของการทำงาน และยอมตกเป็น
ทาสของประชาชน เท่านั้น
ทำให้ผู้บริหารเอเอสทีวีได้ผุดแผนการตลาดที่จะทำให้เอเอสทีวีออกอากาศต่อไป
ได้ ด้วยสารพัดวิธีการ อาทิ เปิดตลาดสินค้าในเครือพันธมิตรฯ ไล่ตั้งแต่
กะปิ น้ำปลา ข้าวสาร ผงซักฟอก หรือแม้แต่การขายข่าวสั้นผ่านการสมัคร SMS
ข่าวเดือนละ 200 บาท เรื่องแบบนี้
ถ้าใครไม่มีความเฉลียวใจก็คงไม่ทราบถึงแนวคิดอันแยบคลายที่แฝงอยู่เบื้อง
หลัง เพราะแผนงานสำคัญเหล่านี้ ล้วนมีเป้าหมาย
คือการจะปลูกฝังให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกร่วมในการเป็นเจ้าของ
และร่วมหวงแหนสถานีข่าวแห่งนี้ไปด้วย

ประการที่สอง การทำงานของเอเอสทีวี
ในการแตกไลน์ไปขายสินค้าและบริการอื่นๆ ในเครือ
ทำให้ผู้เขียนพลันนึกไปถึงธุรกิจประเภทห้างค้าปลีกข้ามชาติ
ธุรกิจจำพวกนี้ มีการทำรายได้ในแต่ละปีไม่น้อย โดยจากข้อมูลในรายงานของ
The European Retail Rankings รายงานว่า

ห้างคาร์ฟู (Carrefour Group) ของยุโรป มียอดขายเฉพาะปีเดียว
(ค.ศ.1999) สูงถึง 52,196 ล้านเหรียญ หรือ 2.34 ล้านล้านบาท
โดยมีสาขาทั่วโลกมากถึง 9,000 แห่ง กระจายตัวอยู่ใน 25 ประเทศ
โดยในเอเชีย คาร์ฟูขยายสาขาไปใน 8 ประเทศ และในไทยมีมากกว่าไทย 15 แห่ง
(ค.ศ.1999 ) ส่วนกลุ่ม เทสโก้ ของอังกฤษมียอดขายคิดเป็นอันดับที่ 15
ของโลก โดยมียอดขาย 30,404 ล้านเหรียญ หรือ 1.36 ล้านล้านบาท
(เท่ากับรายได้จากการส่งออกทั้งปีของไทย) กลุ่มเทสโก้
เป็นกลุ่มทุนข้ามชาติที่มาแรงที่สุด
และก้าวร้าวที่สุดในการเจาะพื้นที่ใจกลางเมือง โดยเปิดสาขามากถึง 36
แห่งทั่วประเทศแล้วเมื่อปี 2544 และมีแผนที่จะขยายอย่างต่อเนื่องปีละ 6
แห่ง (กมล กมลตระกูล,
ยักษ์ค้าปลีกข้ามชาติกับหน้าที่ของรัฐในการคุ้มครองวิถีชีวิตชุมชน
เผยแพร่ใน http://www.geocities.com/kamoltrakul_kamol/articles5.html

ทำให้ผู้เขียนคิดเล่นๆ ว่า
แทนที่เราจะปล่อยให้ห้างค้าปลีกเหล่านี้ไปซื้อสินค้าจากบริษัทผู้ผลิตกะปิ
น้ำปลา ในบ้านเรา แล้วฉวยโอกาสเอาฉลากชื่อห้างตนเองมาปิดทับขายทำกำไร
หอบเงินกลับบ้านในยุโรปปีละเป็นหมื่นๆ ล้าน
ลองผู้บริโภคเปลี่ยนมาใช้บริการสินค้าในเครือพันธมิตรฯ
หรือเอเอสทีวีเท่านี้ก็จะก่อประโยชน์หลายทาง กล่าวคือ
เงินทองไม่รั่วไหลไปนอกประเทศ
บางส่วนยังถูกนำไปหมุนช่วยต่อลมหายใจให้สถานีข่าวของประชาชน
และเป็นหนทางช่วยเหลือที่จะส่งอานิสงส์เป็นลูกโซ่ไปถึงผู้ผลิตที่มีใจรัก
ชาติ และร่วมอุดมการณ์เดียวกันด้วย ในนามพันธมิตรฯ ด้วยแล้ว
แค่นี้เราก็มีวิธีจะทำให้สถานีข่าวแห่งนี้ทำงานได้ต่อไปโดยไม่ต้องง้อทุนจาก
นักธุรกิจใหญ่ นักการเมือง หรือแม้แต่รัฐบาล

ประการที่สุดท้าย
ผู้เขียนขอชื่นชมหลักการทางการตลาดจากแนวคิดขายของผ่านตราสัญลักษณ์ของ
พันธมิตรฯ หรือเอเอสทีวีที่ตีโจทย์การตลาดแตกละเอียด
เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า
เป้าหมายการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าทั่วไปในท้องตลาด จุดสูงสุดคือ
ต้องการสร้างความภักดีที่ผู้บริโภคพึงมีต่อตัวสินค้า (Brand loyalty)
และการจะเป็นเช่นนั้นได้
สินค้าทั่วไปอาจจะต้องใช้ระยะเวลาตลอดชั่วอายุผู้ขาย
แต่กับสินค้าในเครือเอเอสทีวี หรือเครือพันธมิตรฯ แล้ว ต้องยอมรับว่า
ความรัก และความภักดีที่มีให้กันในหมู่ของคนที่ร่วมการต่อสู้
และผ่านการเคลื่อนไหวมาแล้ว 2 รอบ ตั้งแต่ปี 2548 -2552
ทำให้เกิดปรากฏการณ์พิเศษเหล่านี้ได้ไม่ยาก และกลายเป็นเรื่องชินตา

ทุกครั้งที่เห็นแฟนๆ ชาวเอเอสทีวี หรือพันธมิตรฯ ยอมเดินทางไกลๆ
นั่งรถสามล้อ แท็กซี่ หรือโหนรถเมล์ ขับรถเบนซ์
มุ่งหน้ามาบ้านเจ้าพระยาเพื่อมาแบกข้าวสารเอเอสทีวีไปหุงกินที่บ้านอิ่มทั้ง
ท้อง อิ่มทั้งใจ ที่ได้ช่วยสร้างแรงขับเคลื่อนให้องค์กรเล็กๆ
แห่งนี้อยู่รอด

สุด ท้าย คงต้องฝากผู้อ่าน
ใครมีหนทางในการช่วยรักษาทีวีของประชาชนให้อยู่รอดปลอดภัยได้ต่อๆ ไป
สามารถจะร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านกระทู้ใน manageronline ได้
อย่างน้อยก็ถือว่า เรามาร่วมกันแก้ไขปัญหานี้
เพื่อแบ่งเบาภาระแกนนำพันธมิตรฯ
ของเราให้ท่านได้เอาเวลาไปสร้างการเมืองใหม่ให้เกิดขึ้นได้เร็วๆ เสียที

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000077413

เห็นโจทย์ยังครับ ? "ทำอย่างไรให้สินค้า ASTV หาซื้อได้ง่าย"
เท่านั้นเองครับ แก้ปัญหานี้ให้ได้โดยเร็วที่สุดครับ
อยากทราบว่าสินค้าเหล่านี้ต้องขายเป็นยอดเท่าไหร่
จึงจะพอทำให้ ASTV อยู่ได้อย่างสบาย ?
ถ้าบอกได้บอกให้เรารู้ด้วยครับ
ความสงบเป็นสุข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น