++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

แพทย์มข.เจ๋งค้นพบเทคนิคเปลี่ยนตับรักษาผู้ป่วย

แพทย์มข.เจ๋งค้นพบเทคนิคเปลี่ยนตับรักษาผู้ป่วย


แพทย์มข.เจ๋งค้นพบเทคนิคเปลี่ยนตับรักษาผู้ ป่วย
เผยห่วงผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเพิ่ม เหตุจากการสัก เจาะ
การใช้เข็มร่วมกัน และการรับเลือดหรือผลิตภัณฑ์จากเลือด
ทั้งปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสดังกล่าว

รศ.พญ. วัฒนา สุขีไพศาลเจริญ หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า
ปัจจุบันโรคที่คร่าชีวิตชายไทยเป็นอันดับ 1 คือ โรคมะเร็งตับ
โดยโรคที่สามารถเกิดขึ้นกับตับได้นั้นมีมากมาย เช่น โรคมะเร็งตับ
โรคตับอักเสบเฉียบพลัน โรคตับอักเสบเรื้อรังและตับแข็ง เป็นต้น ดังนั้น
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
จึงได้พัฒนาวิธีการรักษาผู้ป่วยโรคตับ ที่ตับสูญเสียการทำงาน ตั้งแต่ 80
% ขึ้นไป ให้หายจากความเจ็บป่วยและสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ
ด้วยการเปลี่ยนตับ วิธีการรักษานี้ประสบผลสำเร็จมาแล้วในผู้ป่วยเพศชาย
วัย 51 ปี ที่ป่วยด้วยโรคตับอักเสบจากไวรัสบี
ปัจจุบันสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ เป็นเวลา 1 ปี
แล้วโดยคณะแพทย์ศาสตร์ มข.
ได้ดำเนินการศึกษาวิธีรักษาผู้ป่วยโรคตับด้วยวิธีการดังกล่าวมาตั้งแต่ปี
พ.ศ.2547 กระทั่งประสบผลสำเร็จในปี พ.ศ. 2551

"การ เปลี่ยนตับที่ได้ผลนั้น
ต้องขึ้นอยู่กับคนไข้และระยะเวลาในการผ่าตัดเปลี่ยนตับต้องพอดีกัน
ไม่เช่นนั้นอาจเกิดโรคแทรกซ้อน นอกจากนี้
การดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดก็สำคัญ
คนไข้ต้องกินยากดภูมิต้านทานประมาณ 5 ปีขึ้นไป
เพื่อให้ร่างกายยอมรับตับใหม่
แต่หากคนไข้ดูแลตัวเองอย่างดีและกินยาอย่างสม่ำเสมอ
ก็สามารถหยุดยาได้เมื่อร่างกายหยุดการต่อต้านตับใหม่แล้ว" รศ.พญ.
วัฒนา กล่าว
รศ.พญ. วัฒนา กล่าวด้วยว่า สาเหตุการเกิดโรคตับต่างๆนั้น
มาจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและไวรัสตับอักเสบซี
โดยจากสถิติพบว่าผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี มีโอกาสเป็นมะเร็งปีละ
2-8% ส่วนผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบซี มีโอกาสเป็นมะเร็ง 4 %
อย่าง ไรก็ดี
ภายหลังจากมีวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีทำให้ปัจจุบันมีคนไทยเป็นไวรัส
ตับอักเสบบีลดลงเหลือเพียง 8 % จากเดิมที่มีผู้ป่วยติดเชื้อนี้ถึง 16%
ทั้งนี้ ที่น่าเป็นห่วงคือ ไวรัสตับอักเสบซี
เนื่องจากยังไม่มีวัคซีนป้องกัน
โดยปัจจุบันพบว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในเมืองไทยประมาณ 1-2 %
พบมากในพื้นที่ภาคอีสาน
สำหรับการติดต่อนั้นสามารถติดต่อได้ทางเลือดหรือผลิตภัณฑ์ของเลือด
ทุกชนิด อาทิ การใช้เข็มร่วมกัน การสัก การเจาะ
โดยการใช้เครื่องมือที่ไม่สะอาดและไม่ได้มาตรฐาน
การติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในลักษณะสำส่อนทางเพศ
การฟอกไตในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง การติดต่อกันเองภายในครอบครัว เป็นต้น

วิธีการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีนั้น รศ.พญ. วัฒนา
แนะนำว่า ให้ หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้ติดเชื้อที่ได้กล่าวไปแล้ว
ไม่ว่าจะเป็นการได้รับเลือดหรือผลิตภัณฑ์ของเลือดโดยไม่จำเป็น รวมไปถึง
การสัก การเจาะ และการใช้เข็มฉีดยาโดยไม่ได้มาตรฐาน
" ผู้ที่ตรวจพบว่ามีเชื้อไวรัสในร่างกาย ควรหยุดการบริจาคเลือด
แยกการใช้ของหรืออุปกรณ์มีคมเช่น มีด กรรไกรตัดเล็บ
แปรงสีฟันไม่ให้ใช้ปะปนกับคนอื่น งดการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
หากต้องการสัก หรือเจาะตามร่างกาย
ควรใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานและไม่ควรนำไปใช้กับคนอื่น
นอกจากนี้ให้หลีกเลี่ยงพฤติกรรมสำส่อนทางเพศ และงดการดื่มแอลกอฮอล์
เพราะแอลกอฮอล์จะทำให้เกิดโรคตับได้รวดเร็วและรุนแรงมากขึ้น"....

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000072507

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น