++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เปลือกไข่กรองแคดเมียมแก้วิกฤติเป็นโอกาสด้วยเทคโนโลยีง่ายๆ

', '

ไข้หวัดนก.... ในช่วงนี้สร้างความหวาดกลัว ให้กับสังคม จนบางคนไม่กล้า
ที่จะรับประทานเนื้อไก่ แม้ว่ามันจะปรุงสุกแล้ว....หรือ "ไข่" ก็เถอะ
ไม่กล้าแม้แตะต้อง !!!

"ทำได้ไม่จน" จึงได้ถือเอา "วิกฤติให้เป็นโอกาส"
นำเอาเปลือกไข่มาใช้ประโยชน์ ช่วยป้องกันโรคภัย ที่จะเกิดขึ้นกับคน
อย่างเช่น โลหิตจาง กล้ามเนื้ออ่อนแรง (หนักเข้าเป็นอัมพาตได้)
และโรคที่เกิดกับกระดูกและไตคือ "อิไต-อิไต" ได้

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเหล่านี้มาจากน้ำเสีย ที่ปนเปื้อนสารตะกั่ว และ
แคดเมียม อันเป็นโลหะหนักจากโรงงานอุตสาหกรรมหลายๆ ประเภท
แล้วเข้าไปสะสมในร่างกายของมนุษย์

อาจารย์อัจฉรา ดวงเดือน แห่งภาควิชาวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จึงได้ทำการศึกษาวิธีการกำจัดโลหะหนักที่อยู่ในน้ำเสียโดยใช้
วัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรผสมผสานกับเทคโนโลยีอย่างง่ายๆ
ไม่ซับซ้อน...ให้ชื่อว่า....

"โครงการกำจัดตะกั่วโดยใช้เถ้าแกลบดำ และโครงการกำจัดแคดเมียมโดยใช้เปลือกไข่"

หลักการของ 2 โครงการนี้คือทำให้น้ำเสียไหลผ่านสารดูดติดผิว โดยใช้
เปลือกไข่เป็ด หรือ ไข่ไก่ ที่บดละเอียดและเถ้า แกลบดำ
โลหะหนักจะถูกกำจัดออกจากน้ำเสียได้ เนื่องจากว่า
เปลือกไข่และเถ้าแกลบดำมีความพรุนสูง
และมีองค์ประกอบทางเคมีที่เอื้ออำนวยให้โลหะหนักมาเกาะติดที่ผิว

จากการทดลอง กำจัดสารแคดเมียม โดยการผ่านน้ำในอัตรา 1.5 คิวต่อชั่วโมง
ใช้ เปลือกไข่ 3.28 กิโลกรัม จะกำจัดแคดเมียมได้ 99.75%

และ....สารตะกั่ว โดยอัตราไหลของน้ำ 0.4 คิวต่อชั่วโมงผ่าน เถ้าแกลบดำ
4.5 กิโลกรัม จะกำจัดสารตะกั่วได้ 99.85%

แล้วก็ได้นำไปใช้กับสถานที่จริง กับโรงงานแบตเตอรี่พบว่า
สามารถกำจัดตะกั่วในน้ำเสีย ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้ง...
ยิ่งทำให้น้ำผ่านที่กรองช้า ยิ่งมีประสิทธิภาพในการกำจัดได้สูง

ในการนำเอาเปลือกไข่และเถ้าแกลบดำ มาใช้ในการกรองสารโลหะหนักนี้
เป็นการนำวัสดุการเกษตร ที่เหลือทิ้งแล้วมาใช้ประโยชน์
ซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย ในการลงทุนในการรักษาสภาพแวดล้อม

...อันจะเป็นทางเลือกหนึ่ง ของโรงงานอุตสาหกรรมไทยในอนาคต
(เพราะวัสดุเหล่านี้หาได้ง่ายมาก)

หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ อาจารย์อัจฉรา ดวงเดือน โทร.
0-2942-8555 ต่อ 1014 ในเวลาราชการ.

ปัญญา เจริญวงศ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น