++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

รากแก้วแห่งปัญญา:กระจกรถวิจัย

', 'โดย สำนักงานกองทุนสนุบสนุนการวิจัย (สกว.)
การวิจัยที่ทุกภาคส่วนสังคมมีส่วนร่วมที่ผู้เขียนเปรียบเหมือนรถยนต์ที่มี
4 ล้อ ในคอลัมน์นี้เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ("รถยนต์วิจัยกับประเทศไทย")
โดยเปรียบเทียบว่า 2
ล้อหน้าเป็นงานวิจัยในภาครัฐที่ต้องใช้ความรู้มากำหนดนโยบาย
และงานวิจัยภาคประชาสังคมที่ต้องร่วมกำหนดทิศทางเส้นทางเดิน
เพราะนโยบายของภาครัฐย่อมส่งผลต่อชีวิตของคนในสังคม ส่วน 2
ล้อหลังเป็นล้อขับเคลื่อนหมายถึงการวิจัยในภาคผลิต การบริการ
และงานวิจัยในอุดมศึกษา ที่ต้องนำความรู้ไปสู่การผลิตที่แข่งขันได้
เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ

รถยนต์นี้มี 2 ล้อหน้าที่ดูแลเรื่องสังคม และ 2 ล้อหลังเรื่องเศรษฐกิจ
แต่การขับรถไปบนถนนนั้นคนขับต้องมองกระจก 3 บานด้วยกัน คือ กระจกมองหลัง
กระจกมองข้าง และกระจกใสข้างหน้า

กระจกมองหลังเป็นกระจกเงา สิ่งที่มองเห็นคืออดีตที่เพิ่งผ่านพ้น
คนขับรถเขาจะมองกระจกหลังเมื่อต้องมีการตัดสินใจในการขับไปข้างหน้า เช่น
การเปลี่ยนเลนเพื่อแซง เพื่อดูว่ามีรถอื่นอยู่ห่างในระยะปลอดภัยหรือไม่
เป็นการมองเมื่อต้องตัดสินใจในระยะปานกลาง ส่วนการตัดสินใจในระยะสั้นนั้น
เขาจะมองกระจกข้าง
เพื่อให้แน่ใจว่าการเปลี่ยนเลนนั้นจะไม่ถูกเบียดด้วยรถอื่นที่กำลังตีคู่ขึ้นมา
ก่อนการมองกระจกหลังจะเป็นการตัดสินใจระยะยาว
ซึ่งคนขับจะมองทะลุผ่านกระจกหน้าก่อนว่าถนนข้างหน้าโล่ง ไม่เป็นทางโค้ง

จะเห็นว่ากระจกสะท้อนเงานั้นเป็นเพียงตัวประกอบ เพราะสิ่งที่เห็นคืออดีต
หรือคู่แข่งข้างเคียง ไม่มีผู้ขับรถคนไหนจะมองแต่กระจกหลังหรือกระจกข้าง
เพราะการขับรถจะประสานงากับอนาคตได้ ในงานวิจัยก็เช่นกัน
การคิดจะทำวิจัยอะไร เราจะต้องมองให้ทะลุออกไปข้างหน้า
เห็นโอกาสและช่องทางที่จะไป แล้วจึงตัดสินใจไป
แต่ก่อนไปก็จำเป็นต้องมองอดีต(กระจกหลัง)ที่เป็นภูมิหลังของเรา
ไม่ใช่หวังแต่อนาคตโดยไม่เข้าใจอดีต
และเมื่อตัดสินใจจะแซงก็ต้องดูบริบทข้างเคียง(กระจกข้าง)ด้วยว่า
จะไม่ถูกเบียดเพราะลู่ทางยังไม่ว่าง

มีงานวิจัยจำนวนมากที่ติดกับอดีตคือเคยทำมาอย่างนี้ เคยเห็น
เคยอ่านที่คนอื่นทำมา เขาทำอย่างนี้ จึงทำอย่างนี้บาง
โดยไม่ทราบว่าทำทำไม ไม่ได้วางเป้าไว้ในอนาคตว่าจะไปที่ไหน
การทำวิจัยเช่นนี้เหมือนการขับรถถอยหลังเพื่อเข้าจอด
ซึ่งจะพบว่าการทำเช่นนั้นคนขับจะมองแต่กระจกหลังกับกระจกข้างเท่านั้น

ใครคือคนขับรถยนต์วิจัยคันนี้ ?

คนขับรถคือคนควบคุมทั้งหมด ดังนั้นรถยนต์วิจัยคันนี้ขับโดย
"ระบบบริหารงานวิจัย" ที่บริหารให้ล้อทั้ง 4 ทำหน้าที่อย่างต้องการ

รถยนต์วิจัยมีล้อทั้ง 4 ที่มีจิตวิญญาณเฉพาะเอง
การบริหารงานวิจัยจะต้องทำให้จิตวิญญาณของแต่ละล้อรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน
คือต่างก็ช่วยกันขับเคลื่อนรถยนต์ไปสู่จุดหมายเดียวกัน

ข้าราชการทำวิจัยก็เพื่อให้หน่วยงานทำหน้าที่ได้ดี
ประชาชนทำวิจัยก็เพื่อให้ประชาสังคมเข้มแข็ง
เอกชนทำวิจัยก็เพื่อให้ประเทศแข่งขันได้

อาจารย์มหาวิทยาลัยทำวิจัยก็เพื่อให้ผลงานถูกเอาไปใช้โดยคนอื่น
จะเห็นว่าล้วนเป็นการสร้างผลงานโดยการมองที่ผู้อื่นทั้งสิ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น