++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

พัฒนาเครื่องพิมพ์ร้อน ฝีมือมทร.ธัญบุรี

การผลิตสินค้าในปัจจุบันมีการใส่ตัวเลขเลขที่ผลิต (Lot) วัน เดือน ปี
ที่ทำการผลิต และวัน เดือน ปี ที่หมดอายุ ลงบนหีบห่อของสินค้าแต่ละชิ้น
แต่การใส่ตัวเลขเหล่านี้บนสินค้าแต่ละชิ้นจำเป็นต้องใช้เวลาและคนจำนวนมากใน
การทำงาน ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูง และอัตราการผลิตสินค้าน้อย

"ศุภลักษณ์ จำปาวัลย์, พงศธร กีบุญมี, พัฒนชัย มงคล"
นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.)ธัญบุรี
จึงคิด"การพัฒนาระบบควบคุมเครื่องพิมพ์ร้อน" โดยมี ผศ.ธนะพงศ์ นพวงศ์ ณ
อยุธยา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

ผศ.ธนะพงศ์ นพวงศ์ ณ อยุธยา กล่าวว่า
เครื่องพิมพ์ร้อนที่ใช้อยู่ทั่วไปจะใช้ตัวต้านทานปรับค่า (VR)
ในการปรับตั้งค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ทำให้ไม่มีเสถียรในการทำงาน
เพราะใช้การประมาณค่าพารามิเตอร์ ทำให้ไม่ทราบค่าที่แน่นอน
และหากใช้งานเครื่องเป็นเวลานานๆ
ตัวต้านทานปรับค่ายังมีการยึดค่าและหดค่าของอุปกรณ์

นอกจากนี้เมื่อทำการเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีขนาดเล็กหรือใหญ่กว่า
ตัวผลิตภัณฑ์ชิ้นเดิม จะต้องทำการตั้งค่าพารามิเตอร์ใหม่ทุกครั้ง
เพื่อให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้น
ทำให้เกิดความยุ่งยากในการปรับค่าพารามิเตอร์ใหม่

ในการตั้งค่าใหม่ทุกครั้งจำเป็นต้องทดสอบกับฉลากของตัวผลิตภัณฑ์
นั้นๆ ทำให้ต้องใช้ฉลากเป็นจำนวนมากในการทดสอบแต่ละครั้ง
เป็นการสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น
และยังทำให้ต้นทุนในการผลิตสินค้าเพิ่มมากขึ้น
นักศึกษาจึงได้คิดค้นและพัฒนาระบบเครื่องพิมพ์ร้อนเพื่อลดปัญหาดังกล่าว
โดยปรับเปลี่ยนในส่วนของการตั้งค่าพารามิเตอร์ต่างๆ
ให้เป็นระบบดิจิตอลทำการแสดงค่าเป็นตัวเลข เพื่อลดความยุ่งยาก
ตั้งค่าง่ายขึ้น

ผศ.ธนะพงศ์กล่าวถึงหลักการทำงานของเครื่องดังกล่าวว่า
คือการทำให้หัวพิมพ์เกิดความร้อน
จากนั้นแรงจากลมอัดจะทำให้หัวพิมพ์กดลงบนผ้าหมึก (Robbin)
ซึ่งเมื่อผ้าหมึกถูกความร้อนหมึกจะละลายติดลงบนชิ้นงาน
เครื่องพิมพ์ร้อนที่นำมาทำการพัฒนาสามารถพิมพ์ชิ้นงานได้ 12 ชิ้นต่อนาที

โดยแสดงค่าพารามิเตอร์และจำนวนชิ้นงานได้ 99 ชิ้น บนหน้าจอ LCD
อุณหภูมิที่ใช้ในการพิมพ์ชิ้นงานคือ ระหว่าง 100 องศาเซลเซียส ถึง 150
องศาเซลเซียส ใช้ลมอัด 3 ถึง 4 บาร์ในการควบคุมแรงกดของหัวพิมพ์
นอกจากนี้ยังสามารถทำการเปลี่ยนตัวเลขหรือตัวอักษรได้

เครื่องพิมพ์ร้อนนี้สามารถบันทึกค่าและดึงค่าที่บันทึกไว้ออกมาใช้
งาน และทำงานได้สองระบบคือ แบบ Auto และแบบ Manual ในยุคเศรษฐกิจถดถอย
วิธีต่างๆ ที่ช่วยลดค่าใช้จ่าย แล้วยังเพิ่มผลผลิตอีกด้วยคงหาไม่ได้ง่ายๆ
สำหรับภาคอุตสาหกรรม

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000073323

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น