++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ไอทีเครื่องมือดันสังคมไทยสู่ยุคแห่งการเรียนรู้

ไอทีเครื่องมือดันสังคมไทยสู่ยุคแห่งการเรียนรู้
นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรีและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
แสดงทัศนะในงานฉลองครบรอบ 15 ปีของบริษัทเมโทร ซิสเต็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด
(มหาชน) ถึงวิสัยทัศน์ของไทยในปี 2001 ว่า ปัจจุบันหลายๆ ประเทศก้าว
สู่ยุคของสังคมแห่งการเรียนรู้
(โนว์เลจ เบส โซไซตี้) ทั้งไต้หวัน เกาหลี สิงคโปร์ จีน สหรัฐอเมริกา ซึ่งไทยเอง
รัฐบาลควรเป็นผู้นำ ผลักดันให้เกิดขึ้น
โดยสร้างโอกาสการศึกษาให้ประชาชนจากการปฏิรูปการศึกษาและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
(ไอที) เป็นเครื่องมือ กระจายโอกาสการเข้าถึงเครือข่ายให้ประชาชนได้

ขณะที่ ภาคเอกชนและชุมชนในประเทศเอง
ต้องมีส่วนร่วมสร้างโอกาสแห่งการเรียนรู้
ฝึกอบรมบุคลากรองค์กรอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งได้เริ่มทำแล้วในโรงงานบางแห่งที่ให้คนงานเรียน เป็นโรงเรียนในโรงงาน
ยกระดับพื้นฐานการศึกษาของคนงานได้
โดยประเทศไทยมีอัตราประชาชนที่ได้ศึกษาต่ออุดมศึกษาเพียง 20%
ของจำนวนประชากร ขณะที่กลุ่มประเทศโออีซีดี มีสัดส่วนเฉลี่ย 50%
และในบางประเทศอย่างฟินแลนด์ มีอัตราถึง 70%
นอกจากนี้ ในกลุ่มอุตสาหกรรมเอง เอกชนสามารถร่วมมือกันเรียนรู้ได้
โดยลงทุนวิจัยและพัฒนาร่วมกันเพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่
ซึ่งอาศัยความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยและนักวิทยาศาสตร์ร่วมด้วย

โดยเฉพาะโอกาสที่น่าสนใจอย่างมากของประเทศ การนำภูมิปัญญาของไทยที่มีอยู่
แล้วใช้กระบวนการด้านวิทยาศาสตร์ (Science Methodology)
คิดค้นให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ที่สามารถนำมาผลิต
ในปริมาณมากและมีการยืดหยุ่น การผลิตที่สอดคล้อง
กับความต้องการของตลาดได้
ในแบบ Mass Customization

ทั้งนี้ประเทศที่ไทยน่าจะนำมาเป็นต้นแบบการดำเนินงาน น่าจะเป็นเกาหลีและจีน
เนื่องจากมีลักษณะทางประชากร และภูมิศาสตร์ ที่ใกล้เคียง
โดยมีพื้นที่เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม

สำหรับเกาหลีเอง รัฐบาลผลักดันให้ทั้งประเทศเข้าสู่อิเล็กทรอนิกส์ เป็น
e-Korea มีจำนวนประชากรที่ต่อ เชื่อมอินเทอร์เน็ต สูงสุดในเอเชีย-แปซิฟิก
มีการกำหนดพื้นที่สนับสนุนเฉพาะ (โซน) ที่มีมาตรการและกลยุทธ์ที่เหมาะสม
กับแต่ละพื้นที่ทั้งในพื้นท ี่เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
ซึ่งไทยเองก็น่าจะสามารถแบ่งพื้นที่เป้าหมายตามความเชี่ยวชาญ
ทั้งภาคเกษตรกรรม ภาคการผลิต ภาคบริการ และภาคความรู้
โดยภายหลังการกำหนดพื้นที่เป้าหมายแล้ว
ก็ให้พิจารณาองค์ประกอบที่นำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้

ส่วนของจีนนั้น ได้มีการลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้าน
โทรคมนาคมมหาศาลเพื่ออำนวยความสะดวก การติดต่อการเดินทาง ของประชาชน
และส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม บริการ
กระจายความเจริญไปให้มากที่สุดและสร้างสังคมแบบดิจิทัล
(ดิจิทัล โซไซตี้)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น