++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

"ไหว้ครูดินสอ" ตามแบบฉบับคน "วารสารฯ จันทรเกษม"

ปาเจราจริยา โหนติ คุณุตตรานุสาสกา ข้าฯ ขอประณตน้อมสักการ
บูรพคณาจารย์ ผู้กอปรเกิดประโยชน์ศึกษา...
เสียงกล่าวคำบทบูชาครูดังขึ้นอย่างพร้อมเพรียง
อันเป็นสัญญาณย้ำเตือนว่าพิธีไหว้ครูกำลังเริ่มต้นขึ้นแล้ว

พิธีไหว้ครูถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งประเพณีสำคัญ
สำหรับผู้ที่เข้าสู่กระบวนการศึกษา เล่าเรียน ตั้งแต่ชั้นอนุบาล จนถึง
รั้วมหาวิทยาลัย หรือแม้แต่การทำงานในบางสายงานก็ต้องมีพิธีนี้
เพื่อระลึกถึงพระคุณของผู้สั่งสอนวิชา แสดงความเคารพต่อครู
อาจารย์เพื่อเป็นสิริมงคลกับตัวผู้เรียนเอง

พระเจิมกระดานชนวนเพื่อสิริมงคล
แต่สำหรับพิธีไหว้ครูของชาว "วารสารศาสตร์ ม.ราชภัฏจันทรเกษม"
นั้นกลับแตกต่างออกไป โดยมีพิธีไหว้ครูที่จัดขึ้นแบบไม่เหมือนใคร
ที่เรียกว่า "ไหว้ครูดินสอ"

** กว่าจะมาเป็น "ไหว้ครูดินสอ"
"อ.โป้ง" จักษุ ตะกรุดแก้ว จากหลักสูตรวิชานิเทศศาสตร์
แขนงวารสารศาสตร์ ให้คำอธิบายถึงที่มาว่า สิ่งที่ชาววารสารฯ จันทรเกษม
ต้องการทำคือการสร้างประเพณี วัฒนธรรม ตามแบบฉบับของตัวเอง
เพราะเชื่อว่าสังคม องค์กรจะแข็งแรงได้ วัฒนธรรมก็ต้องเข้มแข็งด้วย
โดยมีโจทย์สำคัญว่า ในฐานะที่เป็นคนวารสารฯ
จะสร้างประเพณีไหว้ครูรูปแบบใดเพื่อที่จะตอบโจทย์การทำงานที่ต้องอยู่ตัว
หนังสือหรืองานเขียนได้

"จากการค้นหา ข้อมูลพบว่า จริงๆ แล้วในบรรดาการทำงานศิลปะของไทย
จะมีวิธีไหว้ครูในแบบเฉพาะ เช่นการไหว้ครูดนตรีในสมัยก่อน
ผู้ที่จะหัดเล่นดนตรีไทย ก็จะมีการไหว้ครูดนตรีก่อน
โดยครูผู้สอนจะจับมือนักดนตรี เล่น ตี เครื่องดนตรีนั้นๆ
ผู้ชายที่จะเริ่มฝึกเขียนหนังสือ พระหรือครูผู้รู้
ก็จะเริ่มจับมือศิษย์เขียนลงในใบลาน กระดานชนวน
เราจึงเอาจุดนี้มาเป็นจุดประสงค์หลักในการกำหนดกิจกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับ
การเรียนวารสารฯ จึงจัดพิธีไหว้ครูดินสอขึ้นมา
โดยต่อท้ายให้เข้ากับหลักสูตรที่เรียนด้านวารสารศาสตร์ว่า ไหว้ครูดินสอ
ในสวนอักษร" อ.โป้งขยายความ

น้อมเคารพครู
** สัมผัสแรกครู-ศิษย์
อ.โป้งยังบอกอีกว่า สิ่งสำคัญที่ใช้ในพิธีไหว้ครูดินสอคือ
"กระดานชนวน" ซึ่งเป็นสิ่งที่หายากในปัจจุบัน โดยก่อนการทำพิธี
กระดานชนวนทุกชิ้นจะให้พระทำการสวดเจริญพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล
แต่สำหรับข้อมูลที่ว่าครูผู้สอนในอดีตจับมือลูกศิษย์เขียนนั้น
เขาเขียนอะไรกันลงในใบลาน หรือกระดานชนวนกลับไม่สามารถค้นพบข้อมูล
จึงต้องคิดต่อว่าจะจับมือนักศึกษาเขียนอะไร...

ปรากฏว่าสิ่งหนึ่งที่ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งธรรมนั่นคือ "โลกุตระ"
ที่หมายถึง หลุดพ้น และตัวแทนของธรรมะ ในที่นี้ก็สื่อถึงธรรมชาติเช่นกัน
ซึ่งเป็นแนวทางที่พยายามจะให้เกิดขึ้นกับนักศึกษาที่เรียนในวิชาชีพนี้
จึงถือเป็นประเพณีการไหว้ครูดินสอ ในสวนอักษร ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก
โดยพิธีการก็เหมือนการไหว้ครูทั่วไป โดยมีพิธีทางศาสนา การกล่าวบทบูชาครู
แต่ที่ต่างไปคือแทนที่นักศึกษาจะมอบพานดอกไม้ พานธูปเทียน
ก็มาเป็นการที่นักศึกษาให้ครูจับมือถือแท่งดินสอ
เพื่อเขียนสัญลักษณ์โลกุตระลงในกระดานชนวน เป็นอันเสร็จพิธี

"สิ่ง ที่สื่อให้เด็กรับรู้ได้จากกิจกรรมไหว้ครูดินสอคือ 1.
สัมผัสแรก ที่ครูได้จับมือลูกศิษย์ในการเขียน เป็นการเริ่มต้นสิ่งดีๆ
เปรียบเหมือนการถ่ายทอดความรู้จากครูสู่ศิษย์ที่ถือเป็นกำลังใจสำคัญในการ
เรียนต่อไป 2. สิ่งที่ครูจับมือนักศึกษาเขียนคือ โลกุตระ
ได้สื่อถึงการได้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาชีพนี้แล้ว
อย่างน้อยที่สุดภาพนี้เขาจะจำได้
ว่าครั้งหนึ่งครูเคยจูงมือนำทางเขาไปสู่ทางที่ดี
ฉะนั้นในการดำรงชีวิตต่อไป
ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นสิ่งนี้จะเป็นเครื่องเตือนใจ
เวลาที่เขาคิดจะละเมิดต่อจรรยาบรรณในวิชาชีพ"อ.โป้งให้ภาพ

** สร้างศรัทธา (ว่าที่)นักวารสารฯ
สำหรับมุมมองของลูกศิษย์อย่าง "ชะ" ชนิกานต์ พุ่มหิรัญ
นักศึกษาชั้นปีที่ 3 บอกว่า
ประเพณีไหว้ครูดินสอนี้เป็นสิ่งที่ไม่เคยเจอมาก่อน
อาจมีวิธีการที่แตกต่างจากการไหว้ครูทั่วไปบ้างแต่แนวคิด
แก่นแท้ของพิธีก็ยังมีไว้เพื่อสำนึกในพระคุณครู อาจารย์เหมือนเดิม

"ความ รู้สึกที่ได้รับจากพิธีนี้คือทำให้เรารู้ว่าเมื่อเป็นนักศึกษาวารสารศาสตร์
ที่เมื่อจบไปแล้วต้องอยู่กับสายงานด้านสื่อสารมวลชน อยู่กับตัวหนังสือ
การเขียน และการที่ครูจับมือเราเขียนในวันนี้
เหมือนเป็นนิมิตรหมายอันดีในการเริ่มต้นการเรียน
จนนำไปสู่การทำงานในอนาคต หากสักวันหนึ่งได้ทำงานในวิชาชีพสื่อ
ก็จะทำให้คิดได้ว่าเมื่อจะเริ่มทำอะไร
จะต้องทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุด"

เช่นเดียวกับ "บลู" อัจฉรา พุ่มจันทร์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3
ที่เห็นตรงกันว่า พิธีไหว้ครูดินสอสร้างให้เกิดศรัทธาในวิชาชีพเพิ่มขึ้น
นอกเหนือจากความแปลกใหม่ที่ไม่เคยทำที่ไหนมาก่อน
ความรู้สึกสัมผัสแรกที่ครูจับมือเขียนนั้น
เหมือนเป็นสิ่งเตือนใจให้เราต้องพยายามศึกษา เล่าเรียน เพราะครู
อาจารย์ต่างดูแล เอาใจใส่ และชี้นำหนทางที่ดีแก่ศิษย์ทุกคน
ก็ต้องอยู่ที่ตัวเราเองว่าจะเดินตามทางนั้นได้หรือไม่
แต่เหนือสิ่งอื่นใดก็นับได้ว่านี่เป็นจุดเริ่มต้นหนึ่งแล้วที่ทั้งครูและ
ศิษย์จะผูกพัน ดูแลซึ่งกันและกันตลอดไป
http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000073797

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น